Thursday, September 20, 2018

ความสุขคืออะไร ข้อคิดดีๆ 3 อย่าง ที่ได้จากงานวิจัยความสุขที่ยาวนานที่สุด

ความสุขคืออะไร ข้อคิดดีๆ 3 อย่าง ที่ได้จากงานวิจัยความสุขที่ยาวนานที่สุด

ความสุขที่แท้จริงคืออะไร ความมั่งคั่งและชื่อเสียงมันทำให้เรามีความสุขได้จริงหรือเปล่า Robert Waldinger ได้นำแสนอผลงานวิจัยจาก Harvard ที่ถึงแม้เวลาจะผ่านไปกว่า 75 ปี แต่งานวิจัยนี้ก็ยังคงดำเนินต่อไป และเค้าเองก็เป็นผู้อำนวยการคนปัจบันที่คุมงานวิจัยนี้

ความสุขของชีวิต

เริ่มตั้งแต่ปี 1938 ที่งานวิจัยจาก Harvard นี้ได้ศึกษาชีวิตของอาสาสมัครกว่า 724 คน รวมถึงคู่สมรสและลูกหลานอีกกว่า 2000 คน ได้รวบรวมข้อมูลและสรุปอย่างชัดเจนว่า ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดช่วยให้คนมีสุขภาพดีและมีความสุข
งานวิจัยได้เริ่มต้นจากการศึกษาชีวิตของนักศึกษาใน Harvard และเด็กที่มาจากครอบครัวยากไร้ในชุมชุน Boston ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป คนเหล่านั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หนึ่งในนั้นกลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ John F. Kennedy
ตลอดเวลาที่ผ่านไปหลายปี นักวิจัยได้สัมภาษณ์อาสาสมัครและคนในครอบครัว ล้วงลึกถึงชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงประวัติการเข้ารับการรักษาพยาบาล ติดตามชีวิตของคนเหล่านี้มาโดยตลอด เวลาผ่านไปจึงได้พบว่า บางคนป่วยเป็นโรคทางสมอง บางคนติดเหล้า บางคนไต่เต้าสูงขึ้นมา ในขณะที่บางคนมีชีวิตที่ตกต่ำลง งานวิจัยนี้ได้ข้อสรุปเป็นข้อคิด 3 อย่าง

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและหลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตโดดเดี่ยว

ความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิดจะช่วยยืดเวลาให้เราแก่ช้าลง กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวจะทำให้สุขภาพเริ่มแย่ลงในวัยกลางคน ทำให้สมองทำงานผิดปกติและทำงานแย่ลงและมีชีวิตที่สั้นกว่าคนทั่วไป
ความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี คนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและกว้างขวางรู้จักคนรอบข้างมากมาย จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าคนที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวและหงา

คุณภาพของความสัมพันธ์สำคัญกว่าปริมาณ

ในสังคมที่มีคนเยอะมากมายแต่ก็ยังเหงาและรู้สึกโดดเดี่ยว ถึงแม้ว่าจะมีเพื่อนเยอะ ก็ไม่สำคัญเท่าความใกล้ชิดและคุณภาพของความสัมพันธ์ คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวที่รักและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะมีชีวิตยืนยาวกว่าคนที่อยู่ในครอบครัวที่ขัดแย้งและบาดหมางกัน ถึงแม้ว่าคนเหล่านั้นไม่เคยนอกใจและอยู่ด้วยกันนานแค่ไหนก็ตาม

ความสัมพันธ์ที่ดีช่วยป้องกันโรคทางสมอง

คนที่อยู่ในครอบครัวที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะมีโอกาสน้อยกว่าที่จะเป็นโรคความจำเสื่อม ในเวลาที่รู้สึกว่ามีที่พึ่ง สามารถพึ่งพาอาศัยคนอื่นๆ ได้  ถึงแม้ว่าจะมีความทุกข์ยาก คนกลุ่มนี้ก็ยังมีสุขภาพจิตที่ดีและจำได้แม่น

สรุปการใช้ชีวิตให้มีความสุข

ชีวิตคนเราสั้น เราไม่มีเวลาให้กับการให้ร้ายแก่กัน หรือการขัดแย้งและไม่พอใจซึ่งกันและกัน คนที่ยังยึดติดความบาดหมาง มีแต่จะทำให้สุขภาพแย่ลง เราควรจะเอาเวลาไปใช้ชีวิต
ไม่มีทางลัดที่จะนำเราไปสู่ชีวิตที่ดีได้ การสร้างความสัมพันธ์ต้องการเวลา แรงกายและใจที่ทุ่มเท คนที่พบว่ามีความสุขในบั้นปลาย มักจะเป็นคนที่รู้จักสร้างและรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว รวมถึงเพื่อนและสังคม ให้เวลากับคนที่เรารัก เข้าหาคนที่อยู่ไกลเรา
การมีส่วนร่วมในสังคมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีชีวิตที่ยืนยาว ในขณะที่การอยู่อย่างโดดเดี่ยวจะทำให้ชีวิตแย่และสั้นลง คนที่สร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดี จะมีอายุยืนยาวมากกว่าคนที่ใช้ชีวิตและมีความสัมพันธ์ที่ขัดแย้ง คนที่อยู่ในครอบครัวที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะมีโอกาสน้อยที่จะเป็นโรคความจำเสื่อม

https://www.nicetofit.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

No comments:

Post a Comment