Thursday, September 20, 2018

โหมด A P S M ต่างกันยังไง ควรใช้โหมดไหนถ่ายภาพ

โหมด A P S M ต่างกันยังไง ควรใช้โหมดไหนถ่ายภาพ

โหมดถ่ายภาพ A P S M ทั้ง 4 อย่างนี้เป็นคำถามที่คนเริ่มต้นมักจะถามกันว่าต่างกันยังไง แล้วควรใช้ตอนไหนถึงจะดีที่สุด วันนี้ผมเลยนำบทความเรื่องโหมดกล้องย่อยลงมาให้อ่านง่ายขึ้นเหลือแค่เรื่องที่มักจะถูกถามกันครับ หวังว่าจะช่วยแก้ป้ัญหาสำหรับคนที่เพิ่งซื้อกล้องตัวแรกได้ครับ

โหมด A, Mode A, Mode AV , Aperture Priority (สำหรับคนที่ชำนาญแล้ว)

โหมดนี้สำหรับคนที่ต้องการค่ารูรับแสงที่คงที่ (F) เมื่อเราตั้งค่ารูรับแสงไว้แล้ว ค่าอื่น ๆ กล้องจะเซ็ตให้เราเองครับ โดยที่เราอาจจะใช้การเซ็ต Auto อื่น ๆ ร่วมได้ เช่น Auto ISO Sensitivity เป็นต้นครับ ส่วนใหญ่คนที่ถ่ายภาพ Portrait จะเลือกแบบนี้ครับ เน้นการคุมความชัดตามที่ต้องการ ส่วนที่เหลือให้กล้องจัดการ
โหมดถ่ายภาพ a p s m
โหมดถ่ายภาพ A : โหทดนี้สำหรับคนที่ต้องการค่ารูรับแสงคงที่

สถานการณ์ที่เหมาะจะใช้โหมด A

การถ่ายภาพ Portrait ครับ ส่วนใหญ่เน้นการทำให้หน้าชัดหลังเบลอ เราก็จะเปิด F1.4, F1.8 ค้างไว้ ส่วนที่เหลือให้กล้องเลือกให้เรา ปกติผมก็จะทำแบบนี้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสง กล้องก็จะปรับค่า Speed Shutter ให้เอง สบายดีนะ

โหมด S, TV, Shutter Priority (สำหรับคนที่ชำนาญแล้ว)

โหมดนี้กล้องจะให้ความสำคัญกับ Shutter Speed เป็นหลัก โดยเราสามารถกำหนดค่า Shutter Speed ที่ต้องการไว้ ส่วนที่เหลือกล้องจะจัดการให้กับเราเองครับ เราอาจจะใช้การเซ็ต Auto อื่น ๆ ร่วมได้ เหมือนข้อก่อนหน้านี้ เช่น Auto ISO Sensitivity เป็นต้นครับ ส่วนใหญ่คนที่ถ่ายภาพ Portrait จะเลือกแบบนี้ครับ เน้นการคุมความชัดตามที่ต้องการ ส่วนที่เหลือให้กล้องจัดการ
โหมดถ่ายภาพ S
โหมดถ่ายภาพ S : กล้องจะให้ความสำคัญกับ Speed Shutter เป็นหลัก

สถานการณ์ที่เหมาะจะใช้โหมด S

การถ่ายภาพ Sport ต่าง ๆ เราก็จะเซ็ตค่า Speed Shutter ที่สูงค้างไว้เลวย หรือการถ่ายภาพที่ต้องการค่า Speed Shutter ต่ำคงที่เพื่อใช้ลากเส้นไฟถนน เราก็สามารถเลือกตรงนี้ค้างไว้ได้เช่นเดียวกัน

Mode P, โหมดโปรแกรม

โหมดกล้อง P หรือโหมดถ่ายภาพ Program เป็นอีกโหมดที่มีการทำงานคล้ายกับ Auto มาก กล้องจะคิดทุกอย่างให้แต่จะอนุญาตให้เราตั้งค่าบางอย่างได้ตามใจ เช่น ISO (ค่าความไวแสง), White Balance (แสงสุมดุลสีขาว), ค่าชดเชยแสง หรือแม้แต่โปรไฟล์สีของการถ่ายภาพ (Picture Style)
โหมดถ่ายภาพ P
โหมดถ่ายภาพ P : การทำงานคล้ายโหมด Auto แต่ก็ยังเลือกปรับค่าบางอย่างได้

สถานะการณ์ที่เหมาะจะใช้โหมด Program

เหมือนกับโหมด Auto ทุกอย่าง เพียงแต่ค่าที่เราปรับแต่งเพิ่มจะส่งผลต่อภาพที่ออกมาด้วย เป็นโหมดที่ควรฝึกใช้เพื่อเรียนรู้การทำงานของกล้องก่อนจะเริ่มใช้โหมดที่เริ่มให้เราปรับได้ยืดหยุ่นมากกว่านี้ ถ้าเรารู้จักกล้องของเรามากขึ้น เราก็สามารถคุมภาพที่ออกมาได้มากขึ้นไปด้วยครับ

โหมด M, Mode M, Manual (สำหรับคนที่ชำนาญแล้ว)

โหมด M สำหรับคนที่ชำนาญแล้ว และก็รู้ว่าการควบคุมแต่และแบบในสไตล์ของตนเอง แบบไหนที่เข้ากับสิ่งที่ต้องการมากที่สุด เราสามารถปรับตั้งค่าทุกอย่างได้อิสระ ทั้งความเร็วชัตเตอร์, ค่าความไวแสง, รูรับแสง และอื่น ๆ ที่ต้องการได้อย่างอิสระ บางครั้งอาจจะเลือกการตั้งค่า Auto ในบางส่วนได้เช่น Auto ISO แบบที่ลิมิต ISO สูงสุดที่รับไว้ได้
โหมดถ่ายภาพ M
โหมดถ่ายภาพ M : ปรับทุกค่าด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ

สถานการณ์ที่เหมาะจะใช้โหมด M

ได้หมด ถ้าเรารู้ว่าการตั้งค่าของกล้องให้เข้ากับสถานการณ์นั้น มักจะเป็นการถ่ายภาพที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงค่าบ่อยนัก เช่น ถ่ายภาพสินค้า หรือแฟชั่นในงานสตูดิโอ หรือจะเอามาใช้ในการถ่ายภาพปกติก็ได้ถ้าเราถนัดการเซ็ตค่าแบบนี้ครับ

สรุปเรื่องโหมด A P S M

ถ้าเราต้องการถ่ายภาพโหมดไหน ก็ย้อนกลับไปดูเลยว่าแต่ละโหมดจะให้ความสำคัญของแต่ละอย่างต่างกัน
– ถ้าหากเราต้องการล็อครูรับแสงที่ต้องการไว้ให้ใช้โหมด A
– ถ้าต้องการล็อคความเร็วชัตเตอร์ไว้ให้ใช้โหมด S
– ถ้าต้องการออโต้ แต่ปรับค่าได้นิดหน่อย มือใหม่ก็ P
– ส่วนถ้าเราโปรแล้วให้ไปโหมด M ได้เลยถ้าต้องการปรับค่าอิสระตามที่ต้องการครับ

อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ

ความสุขคืออะไร ข้อคิดดีๆ 3 อย่าง ที่ได้จากงานวิจัยความสุขที่ยาวนานที่สุด

ความสุขคืออะไร ข้อคิดดีๆ 3 อย่าง ที่ได้จากงานวิจัยความสุขที่ยาวนานที่สุด

ความสุขที่แท้จริงคืออะไร ความมั่งคั่งและชื่อเสียงมันทำให้เรามีความสุขได้จริงหรือเปล่า Robert Waldinger ได้นำแสนอผลงานวิจัยจาก Harvard ที่ถึงแม้เวลาจะผ่านไปกว่า 75 ปี แต่งานวิจัยนี้ก็ยังคงดำเนินต่อไป และเค้าเองก็เป็นผู้อำนวยการคนปัจบันที่คุมงานวิจัยนี้

ความสุขของชีวิต

เริ่มตั้งแต่ปี 1938 ที่งานวิจัยจาก Harvard นี้ได้ศึกษาชีวิตของอาสาสมัครกว่า 724 คน รวมถึงคู่สมรสและลูกหลานอีกกว่า 2000 คน ได้รวบรวมข้อมูลและสรุปอย่างชัดเจนว่า ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดช่วยให้คนมีสุขภาพดีและมีความสุข
งานวิจัยได้เริ่มต้นจากการศึกษาชีวิตของนักศึกษาใน Harvard และเด็กที่มาจากครอบครัวยากไร้ในชุมชุน Boston ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป คนเหล่านั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หนึ่งในนั้นกลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ John F. Kennedy
ตลอดเวลาที่ผ่านไปหลายปี นักวิจัยได้สัมภาษณ์อาสาสมัครและคนในครอบครัว ล้วงลึกถึงชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงประวัติการเข้ารับการรักษาพยาบาล ติดตามชีวิตของคนเหล่านี้มาโดยตลอด เวลาผ่านไปจึงได้พบว่า บางคนป่วยเป็นโรคทางสมอง บางคนติดเหล้า บางคนไต่เต้าสูงขึ้นมา ในขณะที่บางคนมีชีวิตที่ตกต่ำลง งานวิจัยนี้ได้ข้อสรุปเป็นข้อคิด 3 อย่าง

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและหลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตโดดเดี่ยว

ความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิดจะช่วยยืดเวลาให้เราแก่ช้าลง กลุ่มคนที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวจะทำให้สุขภาพเริ่มแย่ลงในวัยกลางคน ทำให้สมองทำงานผิดปกติและทำงานแย่ลงและมีชีวิตที่สั้นกว่าคนทั่วไป
ความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี คนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและกว้างขวางรู้จักคนรอบข้างมากมาย จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าคนที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวและหงา

คุณภาพของความสัมพันธ์สำคัญกว่าปริมาณ

ในสังคมที่มีคนเยอะมากมายแต่ก็ยังเหงาและรู้สึกโดดเดี่ยว ถึงแม้ว่าจะมีเพื่อนเยอะ ก็ไม่สำคัญเท่าความใกล้ชิดและคุณภาพของความสัมพันธ์ คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวที่รักและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะมีชีวิตยืนยาวกว่าคนที่อยู่ในครอบครัวที่ขัดแย้งและบาดหมางกัน ถึงแม้ว่าคนเหล่านั้นไม่เคยนอกใจและอยู่ด้วยกันนานแค่ไหนก็ตาม

ความสัมพันธ์ที่ดีช่วยป้องกันโรคทางสมอง

คนที่อยู่ในครอบครัวที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะมีโอกาสน้อยกว่าที่จะเป็นโรคความจำเสื่อม ในเวลาที่รู้สึกว่ามีที่พึ่ง สามารถพึ่งพาอาศัยคนอื่นๆ ได้  ถึงแม้ว่าจะมีความทุกข์ยาก คนกลุ่มนี้ก็ยังมีสุขภาพจิตที่ดีและจำได้แม่น

สรุปการใช้ชีวิตให้มีความสุข

ชีวิตคนเราสั้น เราไม่มีเวลาให้กับการให้ร้ายแก่กัน หรือการขัดแย้งและไม่พอใจซึ่งกันและกัน คนที่ยังยึดติดความบาดหมาง มีแต่จะทำให้สุขภาพแย่ลง เราควรจะเอาเวลาไปใช้ชีวิต
ไม่มีทางลัดที่จะนำเราไปสู่ชีวิตที่ดีได้ การสร้างความสัมพันธ์ต้องการเวลา แรงกายและใจที่ทุ่มเท คนที่พบว่ามีความสุขในบั้นปลาย มักจะเป็นคนที่รู้จักสร้างและรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว รวมถึงเพื่อนและสังคม ให้เวลากับคนที่เรารัก เข้าหาคนที่อยู่ไกลเรา
การมีส่วนร่วมในสังคมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีชีวิตที่ยืนยาว ในขณะที่การอยู่อย่างโดดเดี่ยวจะทำให้ชีวิตแย่และสั้นลง คนที่สร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดี จะมีอายุยืนยาวมากกว่าคนที่ใช้ชีวิตและมีความสัมพันธ์ที่ขัดแย้ง คนที่อยู่ในครอบครัวที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะมีโอกาสน้อยที่จะเป็นโรคความจำเสื่อม

https://www.nicetofit.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

Monday, September 10, 2018

7 วิธีง่าย ๆ ที่ทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจ

7 วิธีง่าย ๆ ที่ทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจ

เป็นทางออกสำหรับคนที่กำลังอยากจะให้ภาพถ่ายของเราดูสวย สะดุดตา เรียกความสนใจให้กับคนดูได้ และที่สำคัญการจัดองค์ประกอบ การใส่เนื้อเรื่องในภาพก็ยังลงตัวอีกด้วย เดี๋ยววันนี้เรามาดูกันว่าต้องทำอะไรบ้าง



อ่านต่อที่นี่

Thursday, September 6, 2018

25 ไอเดียถ่ายภาพวิวให้สวย

25 ไอเดียถ่ายภาพวิวให้สวย และวิธีคิดในการจัดองค์ประกอบภาพ


25 ไอเดียถ่ายภาพวิวให้สวย และวิธีคิดในการจัดองค์ประกอบภาพ สำหรับมือใหม่ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เพราะว่าไม่มีไอเดียในการถ่ายภาพเลย ว่าควรจัดวางองค์ประกอบภาพยังไง หรือว่าควรเล่าเรื่องออกมายังไงให้สวย ในวันนี้ก็เลยรวมรวม 25 ไอเดียสำหรับการถ่ายภาพ Landscape ให้ออกมาสวยอย่างที่เราต้องการครับ

25 ไอเดียถ่ายภาพวิวให้สวย และวิธีการจัดองค์ประกอบภาพ Landscape


Tuesday, September 4, 2018

ทำบัญชีรายรับรายจ่าย มีประโยชน์อย่างไร?

ทำบัญชีรายรับรายจ่าย มีประโยชน์อย่างไร?


ตั้งแต่เด็กจนโต ก็ได้ยินแต่คนบอกให้ทำ “บัญชีรายรับรายจ่าย” แต่ความจริงแล้ว ไม่เคยรู้สึกว่าการทำบัญชีรายรับรายจ่ายนั้นมีดีและมีประโยชน์อย่างไร วันนี้เลยอยากมาแชร์ ข้อดีหรือประโยชน์ของการทำบัญชีรายรับรายจ่าย

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า บัญชีรายรับรายจ่าย คืออะไร

ถ้าลองมองตัวเราเป็นหนึ่งบริษัท แน่นอนว่าเราจะต้องทำงบดุล (เพื่อแสดงสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนความเป็นเจ้าของ) และงบกระแสเงินสด (เพื่อแสดงสภาพคล่องของบริษัท) บัญชีรายรับรายจ่ายส่วนบุคคล คือ การทำงบกระแสเงินสดเพื่อให้ตัวเราทราบถึงสภาพคล่องของเราว่ารายได้เรามากกว่ารายจ่ายหรือเรียกง่าย ๆ ว่า ตอนนี้สภาพคล่องของเรา  “ขาดทุน” หรือไม่

บันทึกบัญชีรับจ่ายง่ายๆ

บันทึกบัญชีรับจ่ายง่ายๆ



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่