Tuesday, August 28, 2018

‘รู้จักกับ เงินเฟ้อ’

‘รู้จักกับ เงินเฟ้อ’
ผมเชื่อว่า คนส่วนใหญ่รู้จักคำว่าเงินเฟ้อ ..แต่ไม่เข้าใจมัน !!
รู้จักคือ ‘ใครๆ ก็รู้ว่า เงินเฟ้อก็คือ เงินมันจะลดมูลค่าเมื่อเราถือไว้เฉยๆ ...เช่น เงิน 1 ร้อยบาท ในอดีตกินข้าวได้มื้อใหญ่ แต่ 1 ร้อยบาท วันนี้ กินได้แค่ก๋วยเตี๋ยว หรือ ข้าวแกง’
แล้วไงล่ะ ?
นี่แหละ ไอ้คำถาม ‘แล้วไงล่ะ ?’ มันเกิดจาก คนที่รู้จักเงินเฟ้อ แต่ไม่เข้าใจมัน
สิ่งที่ควรเข้าใจมีดังนี้
1. ‘เงิน เป็นสินค้าชนิดหนึ่ง’ ...ต้องเข้าใจก่อนว่า เงิน ของทุกประเทศ ก็เหมือนสินค้าชนิดหนึ่ง ..ประเทศที่เงินแพงๆ ก็เพราะ คนในโลกต้องการเงินเขา เช่น ดอลลาร์ ใครๆ ก็ต้องการ ยิ่งคุณอยู่ในประเทศที่รัฐบาลไม่มั่นคง คุณก็จะไม่อยากได้เงินของตัวเอง อยากได้ดอลลาร์แทน
(ลองนึกภาพ นักธุรกิจในประเทศที่การเมืองไม่นิ่ง ถ้าเขาขายของ เขาก็อยากรับเป็นดอลลาร์ แล้วก็อยากเอาเงินที่ได้ ไปฝากไว้ต่างประเทศ เช่น ที่สวิส , สิงคโปร์ , ฮ่องกง ...)
วันนี้เริ่มชัดเจนมากขึ้น พอเราเห็นปัญหา ค่าเงิน ในประเทศ เช่น เวเนซุเอลา , ตุรกี , มาเลเซีย , อินโดนีเซีย ...
ประเทศเหล่านี้ ค่าเงิน อ่อนลงอย่างรวดเร็ว เพราะ ทั้งนักลงทุน , เจ้าหนี้ และ ประชาชน ต่างกลัว แล้วขายเงินของประเทศเหล่านี้ แล้วไปถือเงินที่มั่นคงกว่าแทนเช่น ดอลลาร์
2. ‘ถ้ารัฐบาล สร้างหนี้เยอะๆ แล้วทำโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มากๆ สุดท้ายเงินจะพัง เงินเฟ้อจะยิ่งสูง’ ...วันนี้เรากำลังเห็นปัญหาแบบ เวเนซุเอลา ลุกลาม มาในกลุ่มประเทศ Emerging Market ...ประเทศที่โดนก่อน ก็คือ ประเทศที่สร้างหนี้ต่างประเทศเยอะๆ แล้วมีเงินทุนสำรองต่ำๆ เช่น มาเลเซีย ...ปัญหานี้เพิ่งเริ่มต้น แล้วกำลังลุกลาม ช่วงนี้ถ้าจะลงทุนที่ไหน ต้องระวังเรื่อง หนี้ และ ทุนสำรองของประเทศนั้นๆ ให้ดี
ไม่งั้น เงินที่ลงทุนต่างประเทศ อาจกำไร แต่ดันขาดทุนค่าเงิน สุดท้าย ก็ขาดทุนอยู่ดี ...ช่วงนี้ต้องระวังให้เยอะครับ
3. ‘คนรวย แต่ละประเทศ เขาสู้กับเงินเฟ้ออย่างไร’ ...สิ่งที่ตรงข้ามกับเงินเฟ้อ ก็คือ สินทรัพย์
เพราะในขณะที่เงินสด นับวันจะลดมูลค่าเมื่อเวลาผ่านไป ...แต่สินทรัพย์จะเพิ่มมูลค่าสวนทาง
คนรวยในทุกประเทศ จึง เอาเงินสดไปซื้อสินทรัพย์ แล้วถือครองแทน
(อันนี้คนส่วนใหญ่ ไม่รู้ คิดว่า คนรวย คือ คนที่มีเงินฝากธนาคารเยอะๆ ...แต่ไม่ใช่เลย จริงๆ แล้ว คนรวยส่วนใหญ่ จะถือครองสินทรัพย์แทน เช่น ที่ดิน , อสังหา , หุ้น , ทอง , ของสะสม)
ถ้าเป็นประเทศ ที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพอย่างเช่น เมืองไทย ...คนรวยจะเอาเงินใส่ไว้ในหุ้น เป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด ...รองลงมา ก็คือ ที่ดิน และ อสังหา
แต่ถ้าเป็นประเทศ ที่ไม่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ...คนรวยในประเทศนั้น จะนิยม ฝากเงินไว้ต่างประเทศ , ถือครองดอลลาร์ และ ทองคำ แทน
4. ‘จะรู้ได้อย่างไร ว่าประเทศไหนมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ’ ...ก็ดูว่า ประเทศนั้นๆ ผลิตสินค้าและบริการ ที่เป็นประโยชน์ต่อคนใช่หรือไม่
การที่ประเทศไทย วันนี้ค่อนข้างดี เพราะเราผลิตสินค้าและบริการที่หลากหลาย
พูดแบบไม่ได้อวยกัน ...สินค้าของไทย เป็นที่ยอมรับในประเทศเพื่อนบ้าน ในเรื่อง คุณภาพ และ ราคา
บริการเราก็มีการท่องเที่ยว ที่หลากหลาย และดึงดูด
ตรงนี้แหละ ที่เราต้องรักษาสมดุลย์ ให้ดี ไม่ประมาท แล้ว พยายามพัฒนาความรู้ ให้สามารถสร้างสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ในราคาที่ถูกลง หรือ ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้
ก็ลองทำความเข้าใจสิ่งรอบตัว เราจะใช้ชีวิต ในโลกที่เศรษฐกิจผันผวนได้ดีขึ้นครับ

Sunday, August 26, 2018

iFIT โมเดลการศึกษาที่เราจะได้เรียนในสิ่งที่เลือกเอง


เราอาจจะเห็นผ่านตาอยู่บ้างเวลามีคนตั้งคำถามว่า “ถ้าไม่พูดถึงเรื่องเงินคุณอยากทำงานอะไร?” คำตอบของหลายคนมักออกมาตรงกันข้ามกับงานประจำที่ทำอยู่


และมีหลายคนที่เรียนจบมาทำงานไม่ตรงสายเพราะตอนที่เลือกคณะเรียนอาจจะยังไม่รู้เป้าหมายของตัวเอง แต่จำเป็นต้องเลือกเรียนเพราะค่านิยมของสังคม จนเจ็บปวดจากการเรียน และมีหลายคนตัดสินใจซิ่วหลังจากเรียนไปแล้วสักพัก  คงจะดีถ้าเราสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่เราสนใจจริงๆ ได้

เมื่อความถนัดของแต่ละคนแตกต่างกันไป

เด็กคนหนึ่งอาจไม่ได้เก่งในหลักสูตรส่วนกลาง แต่ในสิ่งที่เขาชอบ เขาทำได้ดี แต่ระบบการศึกษาไม่ทำให้เขาหาตัวตนเจอ และการมี gap year ให้เด็กได้เรียนรู้และหาตัวเองว่าชอบยังไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทย รวมถึงสังคมที่ผู้ใหญ่มองว่าเด็กอายุ 18 ปี มีความคิดที่แตกต่างไปและยังไม่มีความสามารถพอที่จะดูแลตัวเอง
จะดีกว่าไหมถ้าการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้เปิดโอกาสให้คนคนหนึ่งได้ค้นหาความชอบของตัวเอง และเลือกเรียนในวิชาที่ใช่ และนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในอนาคต

iFIT (Individual Future Innovative Learning of Thailand)

โมเดลการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ที่ผู้เรียนได้ออกแบบหลักสูตรของตัวเอง เน้นทักษะที่จะนำไปใช้ได้จริงในอนาคต ที่สามารถเรียนข้ามคณะ ข้ามสาขา วิชาเรียนมาจากความสนใจและความถนัดของผู้เรียนภายใต้คำแนะนำจากโค้ชที่จะมาช่วยให้ผู้เรียนออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการ
แต่ถ้ายังไม่มีความฝันหรือไม่รู้ว่าจะเรียนอะไร ในโครงการนี้ปีการศึกษาแรกจะให้เรียนวิชาพื้นฐานทั้งหมดก่อนจะตัดสินใจว่าจะออกแบบหลักสูตรตัวเองอย่างไร พูดง่ายๆ คือ ปีแรกยังมีเวลาค้นหาตัวเองร่วมกับโค้ชว่าจะเรียนอะไร
ที่สำคัญโครงการนี้ไม่จำกัดว่าคุณจะจบสายสามัญ สายอาชีพ เรียน กศน. ก็เรียนต่อได้ทั้งหมด

ความฝันของลูกร้านรถเข็นขายน้ำเต้าหู้

สมมติที่บ้านขายน้ำเต้าหู้และมีความฝันอยากจะพัฒนาธุรกิจของครอบครัวให้เจริญและทันสมัยยิ่งขึ้น คือเปิดคาเฟ่ร้านน้ำเต้าหู้ ให้ดูทันสมัยไม่ใช่ร้านรถเข็นแต่อยากพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการให้น้ำเต้าหู้ไม่ได้เป็นแค่ของถูก แต่คือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ รวมถึงความฝันที่จะได้เปิดร้านอยู่ที่บ้านเป็นความจริง
ผู้เรียนสามารถออกแบบหลักสูตรการเรียนร่วมกับโค้ช โดยการผสมผสานวิชาความรู้ เช่น เรียนกับเชฟตัวจริงในวงการ จากคณะมนุษยศาสตร์ฯ – เรียนการสร้างเจ้าของธุรกิจกับนักธุรกิจตัวจริง จากคณะ BUSEM – เรียนการโปรโมทร้านด้วยการตลาดดิจิทัล จากคณะบริหารธุรกิจ – เรียนการสร้างแบรนด์ จากคณะนิเทศศาสตร์ เป็นต้น ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การทำธุรกิจและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเลือกเฉพาะวิชาที่ได้ใช้จริงในการทำงาน

คนที่ยังไม่มีเป้าหมายชัดเจน แต่คิดว่าชีวิตนี้อยากเดินทางไปรอบโลก

ถ้าเป็นสมัยก่อนเราอาจคิดว่าจะต้องรวยขนาดไหนถึงจะทำได้ แต่ในยุคดิจิทัลที่พรมแดนจางลง และการทำงานก็ไม่จำเป็นต้องนั่งอยู่ในออฟฟิศตลอดเวลา ความฝันการเดินทางรอบโลกกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นและพร้อมที่จะกลายเป็นดิจิทัลโนเมด
ชนเผ่าเร่ร่อนยุคใหม่ที่ทำงานผ่านโลกออนไลน์ และออฟฟิศคือทุกที่บนโลก แต่สิ่งที่สำคัญคือภาษา ทักษะการถ่ายภาพ ถ่ายคลิปวิดีโอ ตัดต่อและเล่าเรื่อง คุณอาจหาเงินผ่านการขายรูปใน Photostock รับงานแปลภาษาจากช่องทางออนไลน์ หรือทำรายการในช่อง YouTube รวมถึงเขียนหนังสือให้เป็นที่มาของรายได้
โดยหลักสูตรที่ร่วมกันออกแบบ อาจเริ่มต้นจากภาษาและการถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ เพื่อให้ผู้เรียนหาเงินได้ตั้งแต่ยังเรียนหนังสืออยู่ แล้วพัฒนาทักษะของตนเองให้ดีขึ้น เล่าเรื่องผ่านการพูด การตัดต่อได้เก่งขึ้น สร้างแชนแนลใน YouTube ขึ้นมาจากการท่องเที่ยวในชีวิตประจำวัน เขียนบทความท่องเที่ยวใน blog ส่วนตัว แล้วต่อยอดทักษะให้ดีขึ้นเรื่อยๆ  จนตลอดหลักสูตรการศึกษาอาจมีเงินที่หามาด้วยน้ำพักน้ำแรงตัวเอง และเริ่มพร้อมที่จะเดินทางได้ในทันที

อย่าให้กรอบหลักสูตรเดิมมาบีบให้คุณเป็นไปตามระบบที่มหาวิทยาลัยต้องการ

การเรียนรู้มีอยู่ทุกที่ในโลก การได้ออกแบบหลักสูตรที่ FIT กับผู้เรียนคงเป็นหลักสูตรในฝันของหลายๆ คน เกรดเฉลี่ยไม่อาจวัดความสามารถคนได้ทุกคน การได้ลงมือทำในสิ่งนั้นจริงน่าสนใจกว่าเรียนรู้ในตำรา และความฝันอาจไม่ถูกค้นพบตั้งแต่เด็กเมื่อหลักสูตรการศึกษารูปแบบเก่าอาจยับยั้งความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
โครงการ iFIT ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับใครหลายคนที่พร้อมจะเรียนรู้และไปให้ถึงเป้าหมายของตัวเอง

สนใจหลักสูตร iFIT สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ifit.bu.ac.th


Content by Sakrapee Rinsan
Illustration by  Visansaya Loisawai

วิกฤตมหาวิทยาลัย Lay off อาจารย์ - ขาย - ยุบเลิกกิจการ



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
       ผู้อำนวยการหลักสูตร Ph.D. และ M.Sc. (Business Analytics and Data Science)

สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
       คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


ผมต้องออกมายอมรับว่าตัวเองพยากรณ์พลาดไปมาก เพราะได้เขียนบทความว่า เมื่อมหาวิทยาลัยไทยต้อง lay off อาจารย์และเจ้าหน้าที่ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2561
       
       แต่สิ่งที่ผมคาดไว้กลับเกิดขึ้นไวกว่าที่ผมพยากรณ์ไว้มาก 

วันก่อนลูกศิษย์ผมที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนมาเล่าให้ฟังว่าตัวเธอเองต้องรับหน้าที่ไปบอกเพื่อนอาจารย์ว่าต้อง lay off แล้วเพราะไม่มีภาระงานสอน มหาวิทยาลัยต้องเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดใด ๆ 
       
       มีมหาวิทยาลัยเอกชนหนึ่งแห่ง ได้ขายให้กลุ่มทุนจีนแล้ว และเปลี่ยนผู้บริหารชุดใหม่ และเริ่ม lay off อาจารย์ที่สอนได้แต่ภาษาไทยและภาษาอังกฤษออกไป และเริ่มหาอาจารย์ชาวจีนที่สอนเป็นภาษาจีนได้เข้ามาทำงานแทน 
       
       ไม่มีนักเรียนไทยเพียงพอแล้ว เด็กไทยมีอัตราการเกิดต่ำมาก เราเป็นสังคมสูงอายุรุนแรงมาก ถ้าไม่มีนักศึกษาจีนเลยไม่มีทางไปรอดสำหรับมหาวิทยาลัยเอกชน และที่ผ่านมาก็เอาเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นเครื่องจูงใจให้เด็กมากู้เงินแล้วเรียนในมหาวิทยาลัยเอกชนกันมาก แต่ก็ไม่ยั่งยืนและไปไม่รอด
       
       นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง มีนักเรียนจีนเยอะ เด็กนักเรียนไทยหายไปมากกว่าสองในสาม กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาให้ได้ข้อตกลงเพื่อจะซื้อขายกัน แน่นอนว่าทุนจีนจะเป็นคนซื้ออีกเช่นกัน ยังไม่ได้ราคาที่ลงตัว
       
       ผมได้ยินข่าวมาว่ากลุ่มทุนจีนที่ทำธุรกิจพานักเรียนจีนเข้ามาเรียนในประเทศไทยจะลงทุนซื้อมหาวิทยาลัยเอกชนเอง และบริหารเอง และหาอาจารย์จีนมาสอนเอง และหานักเรียนจีนมาเรียนด้วยตัวเอง ครบวงจรอย่างยิ่งครับ เข้าใจว่าจะทำหอพักและร้านอาหารรอบมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำไป เรื่องนี้น่าจะมีเค้าความจริง ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากังวลแต่อย่างใด ที่น่ากังวลกว่าคือนักเรียนมาแล้วไม่เรียนกลับมาสนใจแต่ค้าขายรอบมหาวิทยาลัยหรือมาทำธุรกิจอย่างอื่น เรื่องนี้ต่างหากที่ไทยเราโดยเฉพาะตรวจคนเข้าเมืองต้องดำเนินการจริงจังได้แล้ว
       
       เอาเป็นว่า ณ บัดนี้ เริ่มมีการ lay off อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ไม่มีภาระการสอนกันแล้วอย่างเป็นเรื่องเป็นราวหลายๆ ที่ครับ ที่แย่สุดคือ รองอธิการบดี หรือ คณบดี ไม่ลงไปพูดกับผู้ถูก lay off เอง แต่ให้หัวหน้าภาควิชาลงไปพูด ทำไมไม่ลงไปบอกเองหนอ 
       
       สาขาวิชาที่เสี่ยงจะถูก lay off คือสาขาวิชาที่ไม่มีนักศึกษาเรียนครับได้แก่ 
       
       เศรษฐศาสตร์ วันก่อนอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยออกมาพูดเองเลย 
       สถิติคณิตศาสตร์ฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์การจัดการระบบสารสนเทศ วิชาพวกนี้ยากไป เด็กไทยไม่อยากเรียน 
       ปรัชญาประวัติศาสตร์ วิชาพวกนี้จบไปไม่มีงานโดยตรง เด็กไทยก็ไม่อยากเรียน 
       
       อาจารย์มหาวิทยาลัยในสาขาวิชาพวกนี้น่าจะไปก่อนครับผม เอาเข้าจริงเห็นอาจารย์ในสาขาวิชาเหล่านี้เริ่มถูก lay off แล้วครับ 
       
       ส่วนสาขาวิชาบางสาขากลับขาดแคลนหนักมาก เช่น พยาบาลศาสตร์ ผลิตเท่าไหร่ก็ไม่พอ หาอาจารย์พยาบาลก็ยากลำบากเหลือเกิน สาขาแพทย์ก็ขาดแคลนแต่ไม่เท่าพยาบาล เพราะเราเข้าสังคมผู้สูงอายุ การเจ็บป่วยก็มากขึ้น ต้องการคนดูแลมากขึ้น 
       
       การปรับตัวเป็นเรื่องจำเป็นมาก โดยเฉพาะการปรับตัวหลังถูก lay off จะไปทำอะไร อายุก็มากแล้ว และอยู่ใน comfort zone ในมหาวิทยาลัยมีอำนาจเหนือนักศึกษา และหลายคนไม่ได้ทำงานจริง ๆ มานานมาก สอนหนังสืออย่างเดียว จนทำอะไรไม่เป็นแล้วก็มีมาก
       
       TCAS รอบนี้ หนักหนามากครับ ระบบห่วย ซับซ้อน และซ้ำซ้อนมากเกินไป เพราะทุกมหาวิทยาลัยแย่งเด็กที่มีจำกัดมาก มีที่นั่งให้เรียนมากกว่าจำนวนเด็กที่อยากเข้าเรียนมหาวิทยาลัย
       
       วันก่อนได้สนทนากับรองเลขาธิการ สกอ. ได้เล่าให้ผมฟังว่าปีที่ผ่านมามีมหาวิทยาลัยไทยขอเลิกกิจการไปสองแห่ง และขณะนี้มีการยื่นเรื่องเพื่อขอปิดมหาวิทยาลัยอีก 5 แห่ง 
       
       มีบางมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดเล็ก ๆ รับเด็กได้สิบกว่าคนทั้งมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ไม่รอด ต้องเลิกกิจการแน่นอน 
       
       ปีหน้าน่าจะหนักหนากว่านี้
       
       TCAS ปีนี้ที่มีปัญหามาก ส่วนหนึ่งคือนักเรียนสมัครน้อย และเกิดการชิงเปรต แย่งเด็กกัน
       
       TCAS เที่ยวนี้เอาเข้าจริงคือ 7 รอบ (รวม 3/1 และ 3/2) ใช้เวลานานเกือบครึ่งปี และมีระบบสอบมากกว่า 50 ระบบ 
       
       มหาวิทยาลัยแย่งเด็กกันเพราะสถานการณ์เช่นข้างบน 
       
       รอดูครับ มีแต่จะเลวร้ายลงไปกว่านี้
       
       พวกมหาวิทยาลัยราชภัฎ ในต่างจังหวัด ที่นักศึกษาลดลงมากก็มีการเลิกจ้างและเลย์ออฟอาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยกันมากมาย
       
       ที่ยังอยู่กันไล่ไม่ได้คืออาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นข้าราชการเท่านั้น ซึ่งก็เหลืออยู่ไม่มากนัก 
       
       พวกพนักงานมีสัญญากันไม่กี่ปีตอนนี้จะเริ่มถูกเลย์ออฟครับ ถ้าไม่มีภาระงานสอน และไม่มีภาระงานอย่างอื่น
       
       ใครจะขึ้นมาเป็นคณบดี อธิการบดี รองอธิการบดี โปรดเตรียมตัวมาทำหน้าที่นี้เพื่อความอยู่รอดของหน่วยงานของตัวเอง โปรดเตรียมตัวไปศาลปกครองด้วย ขอให้โชคดีกันนะครับ
       
       มหาวิทยาลัยของรัฐก็อย่าชะล่าใจ
      
       มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จะมีวิธีการบริหารที่เด็ดขาดกว่า เช่น สาขาวิชาไหน ไม่มีนักศึกษาเรียนพอแล้วทำให้ขาดทุน ก็ต้องยุบไป ต้องเกลี่ยอาจารย์ไปสอนในสาขาวิชาที่มีนักศึกษา หากปรับตัวไม่ได้หรือไม่มีสาขาวิชาไหนต้องการก็ต้องลาออกไป ไม่ต่อสัญญาจ้าง จะถูกบีบให้ออก เพราะไม่มี value และ ไม่มี contribution อะไรที่มาทดแทนกันได้

       
       หรือไม่ก็ให้โอกาสให้ไปเขียนหลักสูตรมาใหม่ ทำให้มีนักศึกษามาเรียนให้ได้ 
       
       เวลานี้สถานการณ์มหาวิทยาลัยไทย ย่ำแย่มาก ไม่มีนักศึกษา และอาจารย์กำลังจะถูก lay off มากขึ้นเรื่อยๆ
       
       ประเทศเล็กๆ มีมหาวิทยาลัยมากเกือบสามร้อยแห่ง ยุบๆ ไปบ้าง หรือยุบรวมกันไปบ้าง มากกว่าครึ่งหนึ่งยังเหลือแหล่เกินพอเพียง โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาก็ควรยุบไปบ้างครับ ตำแหน่งครูก็ยุบลงไปรวมกันในโรงเรียนใหญ่กว่าได้ครับ 
       
       ที่พูดมานี้ไม่ได้ใจไม้ไส้ระกำอำมหิต หรือไม่เห็นใจครูบาอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่สถานการณ์จะเป็นนายของทุกคน เด็กไม่มี เงินไม่มี ก็ไม่มีเงินจะจ้าง สถานการณ์จะบีบให้ผู้บริหารต้องบีบอาจารย์มหาวิทยาลัยลาออกไปครับ
       
       ดังนั้นอาจารย์มหาวิทยาลัย ควรมีอาชีพอื่นหรือแหล่งรายได้อื่นสำรองได้แล้วครับ ที่จะเอาทุนไปเรียนต่อปริญญาเอกก็คิดกันให้ดี ๆ กลับมาอาจจะไม่มีนักศึกษาให้สอน แล้วต้องไปทำงานธุรการก็ได้ ใครจะไปรู้ อะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ 
       
       สวัสดีอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย นี่คือความจริงอันเจ็บปวดที่ท่านกำลังต้องเผชิญ 
       
       แต่ที่ผมห่วงยิ่งกว่าคือเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีจำนวนมากยิ่งกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัย และมีวุฒิการศึกษาน้อยกว่าอาจารย์ ซึ่งน่าจะถูกเลย์ออฟไปด้วย จะไปอยู่ที่ไหน จะไปทำงานอะไรหลังถูก lay off นี่ก็เป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก เพราะโอกาสน่าจะน้อยกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยค่อนข้างมาก ก็ต้องเตรียมตัวกันให้ดีครับ

Tuesday, August 7, 2018

สมาธิบำบัด ขจัดโรค

สมาธิบำบัด ขจัดโรค

มหิดลทำสมาธิบำบัด เพื่อช่วยขยายหลอดเลือดสมองหัวใจช่วยให้
พ้นวิกฤติ ทำเพียงวันละครั้งๆ ละ 10 นาที
ช่วยผ่อนคลายได้ด้วย
จาก รศ.ดร. สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี


ขจัดโรคภัย ไม่ต้องพึ่งยา

ขจัดโรคภัย ไม่ต้องพึ่งยา

ทำ 3 ท่านี้ จะช่วยท่านโบกมือลาเลิกกินยาเลย
โบกมือลาหลายโรค ทั้ง
-เบาหวาน
-ความดัน
-ระบบทางเดินอาหาร
-ระบบขับถ่าย
-กรดไหลย้อน
-โรคปวดหลัง
-ปวดเข่า
-ต่อมลูกหมาก
-อัมพฤกษ์ อัมพาต

ทั้งหมดนี้เป็นผลงาน วิจัยของอาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ง่ายๆ แต่ได้สุขภาพดี "เริ่มทำทันทีนะ